ex สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง 2
Paperless Office พ.ศ. 2562  
ในวาระดิถีขึ้นปี่ใหม่ ขออวยชัยอวยพรให้สุขสม ขอให้โรคภัยที่ตรอมตรม จงล้มตายหายมลายไป Happy New Year 2020 หน้าแรก   ข่าวสาร   Smart Obec  

เรื่อง :
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหนองปรือ
วันที่ 18 เดือน กันยายน พ.ศ.2562
เข้าชม : 1061
Bookmark and Share


 แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2561

 โรงเรียนบ้านหนองปรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

……………………………………….

1.ข้อมูลทั่วไป

          ชื่อโรงเรียนบ้านหนองปรือ  ที่อยู่  177  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง  เขต  โทรศัพท์  -                โทรสาร  -  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 1  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา (10 มิ.ย. 2561)       

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

ปีการศึกษา 2561

1

3

-

3

3

3.  ข้อมูลนักเรียน (10 มิ.ย. 2561)      

ระดับชั้นเรียน

จำนวน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

อนุบาลปีที่ 1

5

-

 

อนุบาลปีที่ 2

4

4

 

อนุบาลปีที่ 3

7

4

 

รวม

16

8

 

ประถมศึกษาปีที่ 1

8

9

 

ประถมศึกษาปีที่ 2

5

4

 

ประถมศึกษาปีที่ 3

7

6

 

ประถมศึกษาปีที่ 4

4

5

 

ประถมศึกษาปีที่ 5

6

4

 

ประถมศึกษาปีที่ 6

11

3

 

รวม

41

31

 

รวมทั้งหมด

57

39

 

หมายเหตุ  ให้โรงเรียนรายงานข้อมูลทุกระดับชั้นที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2561

4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา                       

    ตามกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2561  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาตรัง เขต 2

4.1  รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

          1. สถานศึกษามีการดำเนินงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถานศึกษา  ผู้เรียน  ชุมชน หน่วยงานของรัฐและเอกชน

          2. ดำเนินงานโดยจัดโครงสร้างการบริหารงานที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมีความสอดคล้องกับระบบประกัน มีการพัฒนาคุณภาพ เช่น มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา  ดำเนินงานตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และจัดทำรายงานประจำปี  มีการพัฒนาระบบประกันอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน

          สถานศึกษามีรูปแบบวิธีการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ มีลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ปี

4.2  การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 

       4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ 5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

          ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

-          แต่งตั้งคณะกรรมการการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย                            ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู  กรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง

-          ประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา แนวทางการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

          ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมาตรฐานการศึกษาต่างๆ

          ขั้นที่ 3  กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและค่าเป้าหมาย

          ขั้นที่ 4 ตรวจสอบและทบทวนมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

          ขั้นที่ 5 ประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

ผลการดำเนินงาน

          สถานศึกษามีการวิเคราะห์ มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  มีการกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้อย่างเหมาะสมตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่อย่างครบถ้วน โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการประกาศ/ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษาได้รับทราบ ครบถ้วนทุกมาตรฐาน ตัวบ่งชี้

4.2.2  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

1.      แต่งตั้งคณะกรรมจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา

2.      รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอก เช่น ข้อมูลด้านนโยบาย  ข้อมูล

สถานศึกษา เช่น ข้อมูลด้านคุณภาพผู้เรียน  รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก  ผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้

3.      วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอกของสถานศึกษา (SWOT Analysis)

4.      นำผลการวิเคราะห์สภาพภายในและสภาพภายนอกของสถานศึกษาประมวลผลเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ

เป้าหมายของสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ

5.      กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จและชื่อโครงการ/กิจกรรม

6.      จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการดำเนินงาน        

          1. สถานศึกษามีแหล่งข้อมูลจากการ วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งจากแหล่งข้อมูล เอกสาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

          2. มีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายต่างๆที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวาง และแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ

          3. มีแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยเกือบทุกแผนงาน โครงงาน/ กิจกรรมครอบคลุมตามภารกิจในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาพร้อมทั้งปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายที่สำคัญ

          4. เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ

4.2.3  การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา   

          1. แต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน/ผู้รับผิดชอบ

          2. วิเคราะห์จัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม

          3. ปฏิบัติกิจกรรมตามปฏิทินงานที่กำหนด

          4. ประเมินกิจกรรมและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

ผลการดำเนินงาน

          สถานศึกษามีการกำหนดผู้รับผิดชอบมีการจัดทำ ปฏิทินและแผนกำกับติดตามการดำเนินงานของแผน ปฏิบัติการประจำปี ชัดเจน ครบถ้วนในทุกโครงการ/ กิจกรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนโครงการ/กิจกรรม  ครูผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนด โดยร้อยละ 80 ขึ้นไปของโครงการ กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า และผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 ขึ้นไปพึงพอใจในการดำเนินงาน          

4.2.4  การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

1.      แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

2.      กำหนดระยะเวลาในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาปีละ 1 ครั้ง

3.      จัดทำเครื่องมือการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

          1. สถานศึกษามีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัดอย่างน้อย 1 คน  ครู  ตัวแทนผู้ปกครอง มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจนและดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาปีละ 1 ครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

          2. สถานศึกษา มีการวางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ที่ชัดเจน มีเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา โดยทุกมาตรฐานและทุกตัวบ่งชี้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม

4.2.5  ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  4

การดำเนินงานของสถานศึกษา

1.      แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

2.      กำหนดระยะเวลา และแนวทางการติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานและตัวชี้วัด  ของสถานศึกษา

3.      รายงานผลการดำเนินงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง

ผลการดำเนินงาน

          1. สถานศึกษามีผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา มีการมอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ ร่วมกันวางแผนกำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตาม     

          2. สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ของสถานศึกษาทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษา โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

          3. สถานศึกษามีการจัดทำรายงานโครงการ/กิจกรรม เสนอต่อผู้บริหารและต้นสังกัดและนำผลการติดตามไปใช้วางแผนดำเนินงานต่อไป

4.2.6  จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา  เป็นประจำทุกปี

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  5

การดำเนินงานของสถานศึกษา

1.      แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา

2.      รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล และแปลผลเพื่อการจัดทำรายงาน

3.      เขียนรายงานประจำปีของสถานศึกษา

4.      นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ

5.       เผยแพร่ ผ่าน website

6.      รายงานต่อต้นสังกัด

ผลการดำเนินงาน

          1. สถานศึกษา สรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่าย

          2. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง คุณภาพของรายงานให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ แล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบอย่างเป็นระบบตามช่วงเวลาที่กำหนด

          3. มีการเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองสถานศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนพร้อมกับนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ได้รับการเผยแพร่เพื่อนาไปใช้สำหรับการพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4.3  ผลงานเด่นของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2560 - 2561

ปีการศึกษา 2560

          1. โครงการโรงเรียนปลอดบุหรี่, สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          . มีคะแนนเฉลี่ย  O-NET  4  กลุ่มสาระการเรียนรู้  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เป็นอันดับที่ จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

          ๓. มีคะแนนเฉลี่ย  O-NET  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ สูงกว่าระดับประเทศ  เป็นอันดับที่ จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)      

          . มีคะแนนเฉลี่ย  O-NET  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ สูงกว่าระดับประเทศ  เป็นอันดับที่ จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

          . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การแข่งขันคิดเลขเร็ว  ป. 4-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

          . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทชาย ป. 1-6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

          ปีการศึกษา 2561

          1. โครงการโรงเรียนปลอดขยะ  (Zero  Waste  School)

          2. นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การแข่งขันคิดเลขเร็ว  ป. 4-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

          . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง  การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกกรุง ประเภทชาย  ป. 1-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

           . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง  การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกกรุง ประเภทหญิง  ป. 1-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

            . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง  การแข่งขันขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ประเภทชาย  ป. 1-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

          . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง  การประกวดมารยาทงามอย่างไทย  ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  ป. 1-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

          . นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง  การแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  ป. 1-6  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      3 ต.ค. 2562
      18 ก.ย. 2562
      7 ส.ค. 2562
      31 ก.ค. 2562
      31 ก.ค. 2562


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.